ใครที่เพิ่งซื้อบ้านหรือคอนโด แน่นอนว่าก่อนเข้าอยู่อาศัยเราจะต้องทำการตรวจรับบ้าน-คอนโด เช็คตามจุดต่างๆทั้งภายในและภายนอกบ้าน ก่อนที่จะทำการโอนทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าบ้านใหม่ที่เรากำลังจะเข้าไปอยู่นั้นปลอดภัย มีคุณภาพ หากใครที่ไม่มีความรู้ในเรื่องของการ ตรวจรับบ้าน-คอนโด ก็สามารถจ้างสถาปนิกเพื่อมาตรวจบ้าน ตรวจคอนโด แต่ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาอีก ตามขนาดพื้นที่ใช้สอยของบ้าน ส่วนใหญ่แล้วการตรวจบ้านจะมีทั้งหมด 3 ครั้ง ราคาอยู่ที่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น เพื่อแลกกับความสบายใจของผู้อยู่อาศัย
แต่ถ้าใครไม่อยากเสียเงินจ้างสถาปนิกมาตรวจรับบ้าน-คอนโด ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม และยังสามารถขอคำปรึกษาจากทีมงานของโครงการอสังหาฯ ที่เราซื้อมาได้อีกด้วย
ลิสต์รายการสำหรับตรวจรับบ้านและทาวน์โฮมด้วยตัวเอง | ตรวจรับบ้าน-คอนโด
checklist ตรวจบ้านก่อนโอนขั้นพื้นฐานที่เราสามารถทำเองได้ง่ายๆจากการสังเกต ตรวจสอบ เพื่อให้บ้านของเรามีประสิทธิภาพที่ดี สามารถเข้าอยู่ได้โดยไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง การตรวจบ้านก่อนโอนหลักๆคือการเช็คระบบไฟ น้ำ โครงสร้างต่างๆ ตรวจเช็คหลังคา รวมถึงภายนอกของบ้านด้วย
ตรวจเช็คระบบไฟ
เช็คสวิตช์และเต้ารับทุกจุดในบ้านว่าติดตั้งถูกต้อง มีสายไฟโผล่มาตรงไหนไหม ใช้เครื่องตรวจสอบเบรกเกอร์ตัดไฟรั่วไหล ระบบจ่ายไฟในบ้านทำงานได้อย่างปกติ เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาวิธีการใช้งานของเครื่องตรวจสอบเบรกเกอร์ให้ละเอียดด้วย เมื่อระบบไฟในบ้านทำงานได้อย่างปกติแล้ว ให้เช็คมิเตอร์ไฟว่ามีการหมุนทำงานเอง โดยที่เราไม่ได้ใช้ไฟหรือไม่
ตรวจเช็คระบบน้ำ
การตรวจสอบมิเตอร์น้ำทำเช่นเดียวกับมิเตอร์ไฟ คือตรวจสอบว่ามิเตอร์น้ำหมุนโดยที่เราไม่ได้ใช้งานหรือไม่ จากนั้นให้ตรวจสอบแรงดันของน้ำ ก๊อกน้ำ ฝักบัวในห้องน้ำ ชักโครก พื้นในห้องน้ำมีความลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลลงท่อได้สะดวกหรือไม่ ในส่วนของโซนซักล้างให้ตรวจสอบระบบท่อน้ำต่างๆว่ามีรอยแตก รั่วซึม และได้มีการต่อท่อไปยังบ่อพักหรือไม่
ตรวจสอบโครงสร้างและผนังบ้าน
ผนังบ้านที่ดีจะต้องไม่มีรอยแตกร้าว หากพบรอยแตกของผนังหรือจุดเชื่อมต่อกับประตู ให้รีบแจ้งทางโครงการบ้านเพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขทันที
ตรวจสอบพื้นของบ้าน
หากเป็นพื้นไม้หรือลามิเนต พื้นจะต้องเรียบเท่ากัน เดินไม่สะดุด ไม้ไม่บวมขึ้นมาหรือเป็นร่องไม้ ส่วนพื้นกระเบื้องจะต้องไม่แตกหรือมีรอยร้าว
ตรวจหลังคา เพดาน ฝ้า
สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยก็คือบ้านจะต้องไม่มีปัญหาน้ำรั่วซึม ให้สังเกตรอยน้ำที่เพดานหรือรอยน้ำหยดที่พื้น หากมีรอยน้ำแปลว่าหลังคาอาจจะมีการรั่วซึมได้ เพดานจะต้องได้มาตรฐาน มีระดับเดียวกันทั้งห้อง
ตรวจเช็คประตู-หน้าต่างทุกบานในบ้าน
เช็คบานพับ วงกบ กลอนประตูว่าสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่ หากวัสดุเป็นไม้จะต้องไม่มีรอยแตกหักหรือมีเสี้ยนไม้ติดอยู่ หากเป็นประตูเหล็กก็จะต้องไม่มีสนิมเกาะ
ตรวจความเรียบร้อยรอบตัวบ้าน
การตรวจดีเฟคบ้านรวมไปถึงพื้นที่โดยรอบของบ้านด้วย ทั้งสวน พื้นหญ้า ที่จอดรถ รั้วบ้าน ในส่วนของพื้นดินจะต้องไม่มีรอยทรุดหรือเป็นหลุม รั้วบ้านจะต้องไม่ขึ้นสนิม สีไม่ลอก
ลิสต์รายการสำหรับตรวจรับคอนโดด้วยตัวเอง

ตรวจดีเฟคคอนโดก่อนเข้าอยู่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเหมือนกัน โดยการตรวจคอนโดจะค่อนข้างคล้ายกับการตรวจบ้าน ทั้งระบบไฟ ระบบน้ำ ผนังห้อง เพดาน พื้น ประตู สามารถใช้เทคนิคเดียวกันกับการตรวจบ้านได้เลย เพียงแต่จะมีฟังก์ชั่นเพิ่มเข้ามานิดหน่อย ได้แก่
บางโครงการจะมีระบบไฟอัตโนมัติมาให้ด้วย ให้ทำการเช็คระบบไฟว่าสามารถใช้งานหรือเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือของเจ้าของห้องได้หรือไม่
คอนโดส่วนใหญ่มักจะมีการติดวอลเปเปอร์แทนการทาสี ควรตรวจสอบว่าวอลเปเปอร์มีรอยฉีกขาดหรือบวมขึ้นมาหรือไม่
เฟอร์นิเจอร์ที่โครงการแถมมาให้ เช่น เตียงนอน ตู้เสื้อผ้า เคาน์เตอร์ครัว โซนซักล้าง เครื่องดูดควันสำหรับครัว จะต้องตรวจสอบของทั้งหมดว่ามีส่วนไหนที่ชำรุดหรือใช้งานได้ปกติบ้างการตรวจรับบ้าน-คอนโด จะต้องทำอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ซึ่งสามารถทำได้ไม่ยากเลย แต่หากอยากได้บริการจากมืออาชีพเพื่อความสบายใจของผู้อยู่อาศัย ที่จะได้อยู่บ้านแบบมีความสุขไม่มีส่วนไหนชำรุดให้กวนใจ ก็สามารถจ้างสถาปนิกมืออาชีพมาดูแลการตรวจบ้านได้เลย
อ่านบทความเพิ่มเติม
https://deco-4you.com/tips/
เครดิตภาพ
https://google.com/