ถ้าพูดถึงหัวใจของบ้านแล้ว หลายคนอาจจะคิดถึงห้องนอนที่ดี ที่ช่วยให้หลับสบายทำให้มีความสุข หรือจะเป็นห้องน้ำที่ช่วยชะล้างสิ่งสกปรก แต่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว หัวใจของบ้านนั้น คือ ถังบำบัด เพราะต่อให้บ้านจะสวยงามแค่ไหน แต่ถ้าบ่อบำดีไม่พอก็อาจจะทำให้ฟังได้ง่าย ๆ เลยทีเดียว วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ ถังบำบัด ถ้าหากคุณเป็นคนที่กำลังจะสร้างบ้านใหม่อยู่แล้วด้วย อย่าพลาดกับบทความสุดพิเศษนี้กัน
ถังบำบัด คืออะไร
อย่างแรกเลย สิ่งที่จำเป็นต้องทราบเป็นอันดับแรกคือ ถังบำบัด หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักดี หรือแค่รู้จักผ่าน ๆ วันนี้เราจะมาเฉลยให้ฟังกัน สำหรับ ถังบำบัด หรือที่เรียกว่าถังแซท มีหน้าที่ไว้สำหรับกำจัดจุลินทรีย์ และบำบัดน้ำเสีย ซึ่งหลาย ๆ ครั้งการเลือกขนาดนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามไป ทั้งนี้ห้ามลืมว่า การใช้ถังที่ใหญ่ไปก็ไม่ดี และถ้าหากใช้ถังเล็กไปก็ไม่เหมาะอีก ดังนั้นการเลือกขนาดถังจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก
ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป หรือ ถังแซท (Sats) จะมีหลักการใช้การบำบัดโดยใช้จุลินทรีย์กำจัดจุลินทรีย์กากของของเสียซึ่งไหลลงสู่ถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูป หรือถังแซท ซึ่งจะมีการตกตะกอนอยู่ที่ก้นถังที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์คอยช่วยย่อยสลาย ทั้งยังทำให้ไม่มีกลิ่น และไม่มีตะกอนตกค้างในถัง สำหรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว สามารถทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะได้ ทั้งนี้ ตัวถังบําบัดน้ำเสียหรือ เป็นอุปกรณ์ที่ฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งยากต่อการดูแลรักษา ในการซื้อขายจะต้องมีการสอบถามผู้ขายให้ดีเสียก่อนเสมอ และการเลือกซื้อถังบำบัด รวมถึงอุปกรณ์ จะต้องมีความทนทาน มีคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. ด้วยเช่นกัน
โดยปกติถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปนั้น จะมีการรวมระบบบ่อเกรอะและบ่อซึมไว้ในถังเดียวกัน จึงสะดวกและใช้งานได้ง่ายเป็นอย่างยิ่ง โดยน้ำที่ผ่านกระบวนการในถังบำบัดน้ำเสียนั้น จะมีความสะอาดเพียงพอที่จะปล่อยลงสู่รางระบายน้ำสาธารณะได้ แทนที่จะเป็นการซึมลงสู่ดิน ซึ่งการซึมลงสู่ดินนั้นมักก่อปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และมีหลากหลายปัญหามากมาย นอกจากนี้ถังบำบัดน้ำเสียก็มีให้เลือกใช้งานทั้งหมด 2 แบบไม่ว่าจะเป็นแบบไม่เติมอากาศ และแบบเติมอากาศ (Aerobic Bacteria) โดยจะมีการใช้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อช่วยเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี ทำให้กระกวนการย่อยสลายสารอินทรีย์มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบธรรมชาติ ทั้งนี้ในส่วนของระบบบ่อเกรอะบ่อซึมยังสามารถใช้งานได้ ถ้าหากว่าเป็นพื้นที่ตามชนบทที่มีสภาพดินดีตามธรรมชาติ
ถังบำบัดน้ำเสียในประเทศไทย มีกี่แบบ อะไรบ้าง?
สำหรับในประเทศไทยนิยมใช้ถังบำบัดน้ำเสียทั้งหมด 2 แบบตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้นเรียบร้อยแล้ว โดยถังบำบัดน้ำเสียจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ถังเกรอะ และถังกรอง โดยถังเกรอะนั้นจะมีหน้าที่ในส่วนของการทำให้สิ่งสกปรกได้ตกตะกอนไว้ สำหรับถังสำเร็จรูป จะเป็นแบบถังเดี่ยวซึ่งด้านในจะมีการแยกออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
- ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ จะมีหน้าที่ในการเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ สำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ จึงทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการลดประมาณความสกปรกของน้ำเสียได้เป็นอย่างดี โดยจะอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน และจะมีเครื่องปั๊ม สำหรับเพิ่มเติมอากาศ นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อด้วย ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงในบ่อ ทั้งนี้ราคาในการติดตั้งจะค่อนข้างสูงกว่าอีกแบบ และกลิ่นจากของเสียก็จะน้อยกว่าด้วยเช่นกัน
- ถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ สำหรับรูปถังบำบัดรูปแบบนี้จะเป็นแบบที่เหมาะสำหรับบ้านเรือนหรือที่พักอาศัยที่เราอยู่ ๆ กันโดยทั่วไป รวมถึงสำนักงานและออฟฟิศที่จะมีจำนวนคนไม่มากนัก สำหรับคุณสมบัติในการย่อยสลายสิ่งแปลกปลอม หรือกากตะกอนพวกสารอินทรีย์ภายในถังช้ากว่าถังบำบัดแบบเติมอากาศ โดยจะมีระบบบำบัดทั้งหมด 2 ขั้นตอน คือ ช่องที่หนึ่งจะเป็นช่องเกรอะที่มีไว้สำหรับแยกสิ่งปฏิกูลแยกตะกอนของเสียและการย่อยสลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจากนั้นจะมีการบำบัดไปถึงช่องที่สอง สำหรับช่องนี้จะเป็น ช่องสำหรับกรองแบบไม่เติมอากาศ ซึ่งจะเป็นการบำบัดน้ำเสียต่อจากขั้นตอนจากบ่อเกรอะ โดยจะมีการใช้มีเดียและหัวเชื้อเชื้อจุลินทรีย์ในการช่วยย่อยสลายของเสีย สำหรับข้อดีของ ถังบำบัดน้ำเสียไม่เติมอากาศคือ จะมีราคาที่ถูกกว่าอีกแบบ ทั้งนี้จะมีกากตะกอนและกลิ่นมากกว่าถังบำบัดแบบเติมอากาศ นอกจากนี้ไม่ต้องดูแลระบบไฟฟ้า เพราะถังชนิดนี้ไม่ใช้ไฟฟ้า รวมถึงยังไม่มีเสียงขณะทำงานด้วย
บ่อดักไขมัน คืออะไร?
นอกจากบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่จะมีการบำบัดน้ำเสียแล้วก็ยังมี บ่อดักไขมันอีกด้วย โดยบ่อดักไขมันนั้น จะมีการใช้สำหรับการบำบัดน้ำเสียจากครัวของบ้านพักอาศัย ห้องอาหารหรือภัตตาคาร โดยน้ำเสียดังกล่าวนั้น จะมีสิ่งจำพวกน้ำมันและไขมันปนอยู่มาก ถ้าหากไม่มีการกำจัดออกจะทำให้มีการอุดตันของท่อระบายน้ำ โดยลักษณะน้ำเสีย จากครัวของ บ้านพักอาศัย กรณีที่ไม่ผ่านตะแกรง จะมีน้ำมัน และไขมันประมาณ 2,700 มิลลิกรัม/ลิตร หากผ่านตะแกรง
จะมีน้ำมันและไขมันประมาณ 500 มิลลิกรัม/ลิตร สำหรับลักษณะน้ำเสีย จากครัวของภัตตาคาร จะมีน้ำมัน และไขมันประมาณ 1,500 มิลลิกรัม/ลิตร จุดนี้เองที่ทำให้ต้องคำนึงถึงการเลือกขนาดใหญ่ของบ่อดักไขมันที่มันจะเพียงพอต่อการกักน้ำเสียไว้ในระยะหนึ่ง เพื่อที่จะให้ไขมันและน้ำมัน มีเวลาและโอกาสในการลอยตัวขึ้นมาเพื่อสะสมกันอยู่บนผิวน้ำ และเมื่อปริมาณไขมัน และน้ำมัน สะสมมากขึ้น จำเป็นจะต้องตักออกไปเพื่อนำไปกำจัด ด้วยการใส่ถุงพลาสติก ทิ้งฝากรถขยะ หรือสามารถนำไปตากแห้งหรือหมักทำปุ๋ยได้ด้วยเช่นกัน
บ่อดักไขมันนั้น จะสามารถกำจัดไขมันได้มากกว่าร้อยละ 60 โดยทั่วจะบ่อไขมันจะมีทั้งแบบสำเร็จรูปที่สามารถซื้อและติดตั้งได้ง่าย หรือสามารถสร้างได้ด้วยการวางขอบซีเมนต์หรือถังซีเมนต์หินขัด ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าแบบสำเร็จรูป และยังสามารถปรับให้เหมาะสมกับพื้นที่และปริมาณน้ำที่จะใช้ได้อีกด้วย
ขนาดถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซทที่เหมาะสม
สำหรับการเลือกขนาดของถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซทนั้น โดยปกติแล้วผู้ผลิตนั้น จะมีการผลิตบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซท มักจะระบุขนาดที่เหมาะสมไว้ในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ โดยผู้ซื้อสามารถคำนวณได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะต้องนำจำนวนผู้อาศัย คูณกับ ปริมาณน้ำเสีย โดยคิดเป็นร้อยละ 80 ของประมาณน้ำที่ใช้ต่อวัน จากนั้นก็คูณเข้ากับ เวลาที่จะมีการใช้บำบัด ประมาณ 1.5 วัน ได้ตามสูตร ดังตัวอย่างด้านล่างนี้
ขนาดถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซท (ลิตร) = จำนวนผู้อยู่อาศัย x 0.8 x ปริมาณน้ำใช้ต่อคนต่อวัน (ลิตร) x 1.5
ยกตัวอย่าง : ใช้น้ำเฉลี่ยต่อคน วันละ 200 ลิตร ถ้ามีคนอาศัยในบ้าน 5 คน ควรเลือกถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซท ขนาด (5×0.8x200x1.5) = 1,200 ลิตร
การติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย
ต่อมาจะเป็นการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย โดยทั่วไปหลายคนอาจจะคิดว่ามันยาก แต่ถ้าหากเป็นช่างมืออาชีพนั้นก็ไม่ยากเกินไปนัก เพียงขอแค่มีประสบการณ์ในการติดตั้งถังแซทสักหน่อย รวมถึงเข้าใจในเรื่องของดินแต่ละพื้นที่ในแต่ละจังหวัดซึ่งจะมีความแตกต่างกันนั้น ก็จะช่วยได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว สำหรับวิธีการติดตั้งเบื้องต้นจะมีดังนี้
- อย่างแรกเลยคือต้องดูพื้นที่สำหรับการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียก่อน ดูว่าแคบไปสำหรับการใส่ถังบำบัดน้ำเสียหรือไม่ เนื่องจากจะต้องมีการขุดหลุ่มให้กว้างกว่าถัง 1 เมตร คือ ด้านละ50 เซ็นติเมตร x 2
- ต่อมาเป็นการตรวจสอบสเปคของถังบำบัดว่า จะมีขนาดความกว้าง สูง และสามารถวางในหลุมที่เพิ่งขุดได้หรือไม่ หรือพอดีเข้ากับพื้นที่หน้างานได้หรือไม่เป็นต้น
- เมื่อทราบขนาดแล้วนั้น จะต้องมีการขุดดินให้กว้างกว่าขนาดของถังบำบัด
- ตอกเข็ง โดยขนาดของเข็มนั้น ควรจะเหมาะสมในการรองรับน้ำหนักของตัวถังได้เป็นอย่างดี
- เทฐานรากด้วยปูนซีเมนต์ที่ผสมเสร็จแล้ว
- จากนั้นก็ทำการทำความสะอาด เคลียร์เศษพวกปูนและเศษหิน รวมถึงเศษวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดทิ่มแทงเข้าไปในตัวถังบำบัดที่ติดตั้งเข้าไป อาจจะทำให้แตก ร้าว หรือรั่วซึมได้
- นำถังบำบัดน้ำเสีย ค่อย ๆ หย่อนลงหลุมที่ได้มีการขุดไว้ ขอแนะนำให้เป็นช่างผู้มีประสบการณ์ คอยดูแลทุกขั้นตอนในการติดตั้ง
- เติมน้ำลงไปในถังบำบัดให้เต็ม ห้ามกลบทราบก่อนทั้งที่ยังไม่ได้มีการเติมน้ำ เพราะถังต้องมีน้ำอยู่เต็มใบ เพื่อรับแรงดันจากดินที่จะบีบเข้ามา โดยต้องสั่งทราบหยาบมาสำหรับกลบลงหลุม และขอเน้นย้ำว่าตะเป็นทรายหยาบล้วนเท่านั้น เพราะถ้าหากเอาดินที่ขุดขึ้นมา ผสมกับทรายเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ถังใบนี้อาจจะแตกได้ เพราะว่าดินแข็ง รวมถึงอาจจะมีเศษหินเศษไม้ปนเข้าไปอีกด้วย
การเลือกซื้อถังบำบัดน้ำเสีย
หากคุณกำลังจะมีบ้านใหม่และต้องการเลือกซื้อถังบำบัดซักถังแล้วล่ะก็ อาจจะสงสัยว่าจะเลือกแบบไหนดี ยี่ห้อไหนดี เพราะถ้าหากได้ลองหาข้อมูลหรือเข้าไปสำรวจตามร้านวัสดุก่อสร้างแล้วนั้น จะเจอกับถังบำบัดสีดำที่เรียงรายกันอยู่เต็มไปหมด สำหรับหลักการซื้อก็ง่าย ๆ ไม่กี่วิธีเท่านั้น โดยอย่างแรกคือ ต้องเลือกซื้อกับบริษัทของถังบำบัดโดยตรงจะได้ราคาถูกกว่าและต่อรองง่ายกว่า วัสดุที่ใช้ในการผลิต ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. มีสเปค แบบถังบำบัดน้ำเสียให้ลูกค้า ดูง่ายชัดเจน สามารถออกแบบขนาดของถังบำบัด ให้เหมาะกับการใช้งาน ในแต่ละประเภทได้ บริการจัดส่งถึงที่ รวดเร็ว ตรงต่อเวลา ดูระยะเวลารับประกันให้ชัดเจน และสามารถโทรสอบถามได้ตลอดเวลา แม้จะหมดประกันแล้วก็ตาม
“อ่านบทความอื่นเกี่ยวกับบ้านได้ ที่นี่”
เครดิต : เซ็กซี่บาคาร่า , เว็บพนันออนไลน์ , คาสิโนออนไลน์