บางครั้งเราอยากนั่งเงียบสงบ พักผ่อนจากการทำงานหนัก แต่ก็ยังมีเสียงทีวีจากห้องข้าง ๆ ดังเข้ามากวนใจเรา หรือบางครั้งเรากำลังทำงานอยู่บ้านเงียบ ๆ ก็ยังมีเสียงจากห้องตรงข้ามมาอีก เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยประสบปัญหานี้มาบ้างไม่มากก็น้อย กับปัญหาเสียงดังรบกวนจากห้องข้าง ๆ โดยเฉพาะคนที่อยู่คอนโดหรืออพาร์ทเม้นท์เล็ก ๆ น่าจะเคยประสบปัญหานี้บ้าง ดังนั้นวันนี้เรามาหาทางแก้กันดีกว่า ผมจะมาแนะนำวิธีการทำ ผนังกันเสียงคอนโด ด้วยตนเองแบบง่าย ๆ ว่าเราจะมีวิธีการเสียงจากห้องข้าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง

ผนังกั้นเสียง ไม่ใช่ ผนังซับเสียง
อย่างแรกที่เราต้องทำความเข้าใจก่อนคือ ผนังกันเสียงกับผนังซับเสียงเป็นคนละอย่างกัน หลักการทำงานและวัตถุประสงค์ในการใช้งานนั้นก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงแล้ว ผนังกั้นเสียงนั้นจะมีหน้าที่ช่วยป้องกันเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนภายในพื้นที่ห้องของเรา และก็ยังช่วยป้องกันเสียงจากภายในไม่ให้ดังออกไปนอกห้องได้ด้วย แต่ผนังซับเสียงมีหน้าที่ควบคุมเสียงที่อยู่ภายในห้องไม่ให้ดังก้อง หรือเกิดการสะท้อนของเสียงภายในห้องมากเกินไป จนทำให้ประสิทธิภาพของเสียงที่เราได้ยินนั้นผิดเพี้ยนไป
เสียงทะลุเข้ามาทางไหนได้บ้าง
แล้วเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เสียงจากห้องข้าง ๆ นั้นจะสามารถทะลุมาห้องของเราได้ด้วยวิธีใดบ้าง อย่างที่เรารู้ว่าเสียงสามารถเดินทางผ่านอากาศได้ดี นอกจากเสียงจะเข้ามาสู่ห้องเราในทางตรง ๆ แล้ว ยังอาจมาได้ในอีก 4 จุดได้แก่ ผนังและกำแพง เสียงจะทะลุออกมาได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับความหนาของผนังและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง อย่างต่อไปคือทางประตูหน้าต่างและปลั๊กไฟ จุดเหล่านี้มีช่องเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อกับผนังฝั่งตรงข้ามอยู่
ต่อไปคือฝ้าเพดาน ผนังส่วนใหญ่โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมจะมีความสูงเพียงแค่เลยฝ้าเพดานขึ้นมาหน่อยเดียวเท่านั้น แต่อาจไม่ได้สูงขึ้นไปจนสุดพื้นของห้องที่อยู่ชั้นบน ดังนั้นจึงมีช่องว่างเหลือฝ้าเพดานที่เชื่อมต่อกันอยู่ที่เสียงสามารถที่จะรอดออกมาได้ สุดท้ายก็คือพื้น อาจเกิดจากแรงสั่นสะเทือนที่มาตามงานโครงสร้าง แต่โดยส่วนใหญ่นั้นจะต้องเป็นการกระทบกระเทือนแรง ๆ ถึงจะทำให้เกิดเสียงได้ ตัวอย่างเช่น การเดินย่ำเท้าหนัก ๆ การเลื่อนเก้าอี้ หรือการทำของตก
หาที่มาของเสียงก่อน
เนื่องจากมีจุดที่เราต้องสนใจอยู่ด้วยกัน 4 จุด แต่เราไม่รู้ว่าจุดไหนเป็นจุดที่เสียงเล็ดลอดเข้ามาได้ วิธีการคือให้เราตรวจสอบก่อนว่าเสียงเล็ดลอดออกมาจากทางไหน โดยการปิดประตูหน้าต่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด จากนั้นให้เราทำการยืนอยู่กลางห้องแล้วฟังเสียงดู เราจะได้ยินว่ามีเสียงแปลก ๆ ดังเล็ดลอดเข้ามาจากตรงไหนบ้าง

ประตูและหน้าต่าง
หากอยู่ในอพาร์ทเม้นท์หรือคอนโด น่าจะเป็นเรื่องที่ยากที่จะให้เราเปลี่ยนประตูหรือหน้าต่างที่จะกันเสียง ดังนั้น จึงอยากแนะนำให้ใช้วิธีปิดซีลช่องว่างที่อยู่บริเวณขอบประตูและหน้าต่าง
ปัจจุบันมีอุปกรณ์ซีลขอบประตูและหน้าต่างให้เลือกกันมากมาย เพื่อให้ประตูหน้าต่างปิดได้แนบสนิทและมิดชิดมากขึ้น สามารถที่จะติดตั้งเองได้ง่าย หลายคนมองข้ามอุปกรณ์เหล่านี้เพราะคิดว่าช่วยอะไรมากไม่ได้ แต่ค่อนข้างมีประโยชน์มากเลยทีเดียว นอกจากจะช่วยกันเสียงไม่ให้ออกไปข้างนอกได้แล้ว ยังทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นละอองหรือแมลง หรือแม้แต่ช่วยกันแอร์ไม่ออกไปนอกห้องได้ด้วย หาซื้อก็ง่ายทั้งใน Lazada กับ Shopee แถมราคาถูกอีก

ปลั๊กไฟ
สามารถที่จะทำได้ง่าย ๆ และลงทุนน้อยเพียงแค่หลักร้อยเท่านั้น วิธีการมีมากมายได้แก่ ใช้ฝาครอบปลั๊กไฟ เพื่อช่วยป้องกันเสียง อีกทั้งยังป้องกันฝุ่นแมลงและกันน้ำได้ด้วย ใช้ซิลิโคนหรือยาแนว ใช้สำหรับอุดช่องว่างที่อยู่รอบ ๆ กรอบของปลั๊กไฟ เพื่อให้มีความมิดชิดมากขึ้น อย่างสุดท้ายคือบล็อคลอย ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด ในกรณีที่เราไม่ต้องการที่จะเจาะผนัง เพราะเราสามารถตัดปัญหาช่องผนังที่ตรงกับเพื่อนบ้านไปได้เลย แต่เราก็จะเห็นกล่องปลั๊กไฟยื่นออกมา และสายไฟต่าง ๆ ที่จะอยู่บนผนัง และอาจต้องจ้างช่างไฟมาติดให้ด้วย

ติดวอลเปเปอร์ หรือแผ่น Acoustic Foam
วิธีการนี้คือวิธีการทำผนังกันเสียงคอนโด เปรียบเสมือนการช่วยปกปิดรอยร้าว และช่วยเพิ่มความหนาให้กับชั้นผนังขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง กับการติดวอลเปเปอร์ แถมยังทำให้ผนังห้องของเราสวยงามมากขึ้นด้วย หรือไม่ก็ติดแผ่น Acoustic Foam ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยในการกันเสียงส่วนหนึ่งได้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว และยังช่วยเน้นในการดูดซับเสียงและลดความกังวานของเสียงสะท้อนในห้องอีกด้วย
ทำยังไงกับเฟอร์นิเจอร์ในห้อง
ขั้นแรกคือ ไม่ควรวางเตียงนอนไว้ใกล้กับห้องน้ำ เพราะห้องน้ำถือเป็นฟังก์ชันที่มีเสียงดังค่อนข้างบ่อย ไม่ว่าจะเสียงคนในห้องใช้งาน หรือเสียงน้ำที่ไหลอยู่ตามท่อ การวางเตียงให้อยู่ใกล้ห้องน้ำมากเกินไปอาจทำให้เราได้ยินเสียงเหล่านี้ ควรใช้หัวเตียงที่มีความหนาขึ้นมาหน่อย บางครั้งการที่เราได้ยินเสียงจากข้างนอกห้องอาจเป็นการที่เสียงดังผ่านผนังหัวเตียงมาสู่หูเราก็ได้
ต่อไปเป็นการเพิ่มตู้เสื้อผ้าหรือชั้นวางหนังสือ สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่ดูดซับเสียงได้ดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความหนาของผนังห้องของเราได้ด้วย การติดผ้าม่านก็ช่วยได้เหมือนกัน เพราะเหล่านี้มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงได้ดีด้วย เท่านี้คุณก็ได้ ผนังกันเสียงคอนโด ในแบบฉบับของคุณแล้ว
“อ่านบทความอื่นเกี่ยวกับบ้านได้ ที่นี่”
อ้างอิง
https://www.scgbuildingmaterials.com/
เว็บไซต์อื่นๆที่น่าสนใจ : เกษตร, บอนไซ, แคคตัส, Top 10, มงคลแก๊ดเจ็ท
เครดิต : สล็อตออนไลน์, คาสิโนออนไลน์