แก้ข้อสงสัย ระบบไฟบ้าน ไฟ 1 เฟส และ 3 เฟส ต่างกันอย่างไร พร้อมวิธีขอ

ถ้าหากพูดถึง ระบบไฟบ้าน หลายคนก็อาจจะทราบดีเพราะว่าต้องเป็นคนไปขอไฟเพื่อที่จะนำมาใช้ในบ้าน ต้องบอกก่อนเลยว่าถ้าหากคุณเป็นคนที่กำลังจะมีบ้านใหม่เป็นของตัวเองสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ ไฟฟ้านี่แหละ ซึ่งไฟฟ้านี้เป็นพลังงานที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มากเลยทีเดียว เพราะพวกบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับพวกเราทุกคนในทุกวันนี้ก็ล้วนแต่ที่จะต้องใช้เป็นระบบไฟฟ้าเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม โทรทัศน์ หรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับช่วยในการทำอาหารอย่างเตาอบไมโครเวฟ เตาไฟฟ้า รวมถึงระบบที่ช่วยรักษาความปลอดภัยในยุคปัจจุบันก็เลือกที่จะใช้เป็นระบบไฟฟ้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าหากต้องอยู่กับไฟฟ้ามากขนาดนี้ อาจจะต้องศึกษาเรื่องราวที่น่าสนใจของไฟฟ้า หรือ ระบบไฟบ้าน ไว้บ้าง เพราะถ้าหากเกิดปัญหาเรื่องระบบไฟบ้านขึ้นก็จะได้รู้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร 

วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับเรื่องระบบไฟ 1 เฟส และ ไฟ 3 เฟส ที่มีการถูกใช้งานมากที่สุดกันว่าจะมีความสำคัญอย่างไร ต่างกันอย่างไร พร้อมวิธีขอจากการไฟฟ้าแบบที่อ่านจบแล้วเข้าใจ พร้อมไปขอได้เลยทันที เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องมารู้จักกันแบบคร่าว ๆ ก่อนว่า ระบบไฟฟ้าทั้งแบบ 1 เฟส คือระบบไฟฟ้าในบ้านที่เราได้ใช้กันอยู่ในปกติทุกวัน เรียกได้ว่าจะเป็นการใช้งานไฟฟ้าที่ไม่ได้มากมายนัก และระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะเป็นการใช้งานแบบที่เยอะขึ้นมากว่าไฟบ้านหรือมาก ๆ ซึ่งจะเป็นการนิยมใช้กันมากในกลุ่มอุตสาหกรรม หรืออาคารพื้นที่ ที่จะมีการใช้กำลังไฟฟ้าที่มาก โดยรายละเอียดแต่ละประเภทนั้นจะมีดังนี้

ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือ มีแรงดันไฟฟ้า 220 – 230 โวลท์ (Volt) มีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz) จะมีสายไฟฟ้าในระบบจำนวน 2 สายประกอบด้วย

วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน – Global Services (Puerto Rico) Inc วงจรไฟฟ้าในบ้าน

ระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะมีการให้แรงดันไฟฟ้า ที่ 220-230 โวลท์ มีความถี่ที่ 50 Hz โดยจะมีสายไฟที่ประกอบอยู่ 2 สาย คือ สายไลน์ที่จะมีชื่อเรียกอีก 2 แบบ อย่างสายเฟสและสายไฟ ซึ่งจะมีตัวอักษรกำกับเป็นตัว L หรือ Line ในภาษาอังกฤษ สามารถทดสอบว่ามีไฟฟ้าอยู่หรือไม่ ได้ด้วยการใช้ไขควงสำหรับวัดไฟฟ้าได้ และถ้าหากมีการแตะที่หัวไขควงและเกิดการเรืองแสนนั้น หมายความว่าสายไฟฟ้านั้นได้มีกำลังไฟฟ้าไหลผ่านแล้ว และสำหรับอีกหนึ่งสายคือ สายนิวทรอล หรือที่เรียกว่าสายศูนย์ จะมีการเขียนตัวอักษรกำกับเป็นภาษาอังกฤษเช่นเดียวกันกับสาย L แต่เป็นตัว N หรือย่อมาจาก Neutral

สำหรับสายชนิดนี้นั้นจะไม่สามารถใช้ไขควงวัดไฟฟ้าเช่นเดียวกับสาย L ซึ่งในการสังเกตนั้นให้ดีเลยจะต้องดูที่เต้าเสียบปลั๊กไฟฟ้า 1ภายในบ้านจะมีอยู่เพียง 2 ช่อง ถ้าใช้ไขควงตรวจไฟฟ้าโดยการเสียบที่รูใดรูหนึ่งจะปรากฏว่าไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ  ราวกับว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ทั้งนี้ถ้าหากมีการเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้วเปิดใช้งาน ถ้าหากกลับมาตรวจอีกครั้ง ก็จะปรากฏว่ามีกระแสไฟฟ้านั้น สามารถไหลผ่านได้ตามปกติ

ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการใช้งานนนั้นจะต้องมีการเสียบให้ครบทั้ง 2 ช่องและภายในสายไฟฟ้านั้นจะมีสายที่ใช้งานร่วมกันอีก 2 สาย ทำให้กระแสไฟครบวงจร ซึ่งยังรวมไปถุงปลั๊กที่มีแบบ 3 ช่องด้วยเช่นกัน โดยช่องที่ได้เพิ่มเข้ามานั้นเป็นตัวเสียบสำหรับสายดินที่จะเป็นตัวช่วยในการป้องกันปัญหาไฟฟ้ารั่ว และอาจจะเกิดอันตรายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมถึงผู้อยู่อาศัยในบ้าน ระบบสายดินนี้จะเป็นปลั๊กแบบ 3 ขาซึ่งในต่างประเทศถือเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่ว

 ในส่วนของการติดตั้งนั้น ระบบไฟฟ้า 1 เฟสนั้นจะมีการติดตั้งที่สะดวกมากกว่าแบบอื่น สามารถเข้าไปขอเพื่อการติดตั้งได้ง่าย และมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไม่แพงมากนัก แต่ถ้าหากมองในระยะยาวแล้วอาจจะไม่ค่อยคุ้มมากนักเพราะว่ามีการใช้ค่อยข้างเปลืองพอสมควรเลยทีเดียว

สำหรับคนที่อาจจะงุนงงเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า 1 เฟสนั้นเราจะสรุปให้ได้สั้น ๆ ดังนี้ 

  • สายไลน์ หรือสายเฟส หรือสายไฟ เขียนแทนด้วยตัวอักษร L (Line) 1 เส้น สามารถทดสอบไฟฟ้าได้ด้วย ไขควงสำหรับวัดไฟฟ้า ซึ่งจะใช้โดยการนำไปแตะที่สายจะพบว่าหลอดไฟบริเวณไขควงวัดไฟฟ้านั้นจะมีไฟติด
  • สายนิวทรอล หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยอักษร N (Neutral) สายนี้จะไม่สามารถนำไขควงวัดไฟฟ้ามาทดสอบได้ ถ้าหากใช้จะพบว่าไม่มีไฟติดที่ไขควงนั่นเอง แต่สามารถทดสอบได้ด้วยการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียบเข้าไป และตรวจดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้งานได้หรือไม่

ระบบไฟฟ้า 3 เฟส คือ มีแรงดันไฟฟ้าระหว่าง สายไลน์ กับ ไลน์ 380 – 400 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์ กับ นิวทรอล 220 – 230 โวลท์ และมีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz) จะมีสายไฟในระบบจำนวน 4 สาย

แก้ปัญหากวนใจระบบไฟฟ้าโรงงานด้วย Surge Protection | Factomart

ระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส จะมีการให้แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์กับไลน์ในขนาด 380-400 โวลท์  พร้อมการทำงานของแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์กับสายนิวทรอลในขนาด 220-230 โวลท์ และมีความถี่ที่ 50Hz โดยมีสายไฟในระบบถึง 4 สาย โดยจะประกอบไปด้วยสายไลน์แบบที่จะมีไฟทั้งหมด 3 เส้น กับสายนิวทรอลแบบไม่มีไฟ 1 เส้น การทำงานของระบบไฟฟ้าทั้งหมด 3 เฟสจะเน้นในเรื่องของแสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ใช้กันในโรงงาน ซึ่งหลายคนอาจจะทราบดีอยู่แล้วว่าไฟฟ้าระบบนี้นั้น จะไม่สามารถนำมาใช้กับระบบแสงสว่างหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้โดยตรง เพราะจะนิยมนำไปใช้สำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรมในโรงงาน เนื่องจากเครื่องจักรในอุตสาหกรรมจะมีการใช้ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงมาก ๆ รวมถึงแสงสว่างถายในโรงงานก็จำเป็นจะต้องใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน และเวลาเปิดปิดไฟภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นก็จะพร้อมกัน 

ทั้งนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า ระบบไฟฟ้าลักษณะ 3 เฟสแบบนั้นจะใช้กับไฟบ้านไม่ได้เลยจริง ๆ หรอ เพราะว่าบางบ้านก็จะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แรงดันสูงอยู่เช่นกัน ซึ่งถ้าให้พูดตามตรงนั้น ไฟฟ้าแบบ 3 เฟส ก็สามารถนำมาใช้กับระบบไฟบ้านได้อยู่ เพียงแต่ว่าไม่สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านได้แบบโดยตรง และถ้าหากจะให้แนะนำนั้น สามารถอธิบายได้ไม่ยุ่งยากนัก ก็คือ การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาใช้ในบ้าน จะไม่ได้เป็นการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 3 เฟส กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านแต่ละชิ้นโดยตรง แต่จะเป็นการนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งแยกออกมาให้เป็นระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส 3 ชุด ละจะมีการกระจายไปตามจุดต่าง ๆ ที่จะมีการใช้ไฟฟ้า เน้นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วนแบบเท่า ๆ กัน ซึ่งจะทำให้กระแสไฟฟ้ามีความสมดุล โดยการกระจายจุดของการใช้งานเช่นนี้ทำให้ไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมากนั่นเอง ตรงจุดนี้จะทำให้ไฟฟ้านั้นสามารถใช้งานให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าและแสงสว่างภายในบ้านได้อย่างเหมาะสม ทะให้ประหยัดค่าไฟฟ้า หรือช่วยให้ค่าไฟลดลงได้อีกด้วย

ซึ่งการทำให้ค่าไฟลดนั้นเกิดจาก การที่จะมีการคิดอัตราการค่าไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ – ชั่วโมงจะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า หรือก็คือ ยิ่งมีการใช้ไฟฟ้ามากก็จะยิ่งเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่จะสูงเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นถ้าหากมีการกระจายการใช้ไฟฟ้าออกเป็น 3 ส่วนจากระบบไฟฟ้าที่จะมีการนำเข้า 3 เฟส จะทำให้การใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วนหรือแต่ละเฟสนั้น ลดน้อยลงไป ทั้งยังสามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาวอีกด้วย หรือก็คือบ้านหรืออาคารที่มีการติดตั้งด้วยระบบไฟฟ้าแบบนี้นั้น ต้องเป็นบ้านหรืออาคารที่มีขนาดใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลากหลายจุดและเป็นปริมาณที่มากจึงเรียกได้ว่าคุ้มค่า แต่ถ้าหากเป็นอาหารหรือบ้านที่มีขนาดเล็ก และมีปริมาณการช้ำไฟฟ้าที่ไม่มากนักควรติดตั้งระบบไฟบ้าน แบบแค่เฟสเดียวก็เพียงพอแล้ว 

ระบบแสงสว่างที่จะมีการใช้หลอดไฟโดยทั่วไปนั้นจะมีการใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส ถ้าหากภายในโรงงานเป็นระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาในในโรงงานนั้นก็จะไม่สามารถใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสนั้นกับหลอกไฟได้โดยตรง แต่จะต้องนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นแบ่งแยกออกเป็นระบบไฟฟ้า ไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น แล้วค่อยกระจายไปในตามจุดต่าง ๆ ที่มีการใช้งานระบบแสงสว่าง ถือว่าเป็นการเฉลี่ยการใช้งานไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดีโดยระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุดนี้ควรจะมีชนิด จำนวน และขนาดของหลอดไฟใกล้เคียงกันเพื่อให้เกิดสภาวะสมดุลในระบบไฟฟ้า แต่ทั้งนี้ในการขอใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส กับการไฟฟ้าจะมีขั้นตอนที่เรียกได้ว่ายุ่งยากพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการติดตั้ง และค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง โดยจะมีรายละเอียดการจ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าประกันไฟฟ้าและค่าติดตั้ง แต่ถ้าหากพูดถึงในระยะยาวนั้นอาจจะคุ้มค่ากว่า เนื่องจากจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่าแบ 1 เฟสเป็นอย่างมากลยทีเดียว 

การขอไฟฟ้าทั้งแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส

สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าใหม่สำหรับนำมาใช้ในระบบไฟบ้านนั้น สามารเดินทางตรวจสอบว่าสถานที่ขอใช้ไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่บริการของการไฟฟ้านครหลวงเขตหรือสาขาย่อยใด โดยสังเกตจากแผ่นป้ายโลหะเคลือบพื้นสีน้ำเงิน ที่มีตัวอักษรและตัวเลขสีขาวซึ่งติดไว้ประจำเครื่องวัดฯบนเสาไฟฟ้าที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งนี้ขนาดแรงดันต้องเป็นแรงต่ำขนาดไม่เกิน 50 (150) แอมแปร์ทั้ง 1 เฟส 2 สายและ 3 เฟส 4 สาย และสำหรับกรณีขอเปลี่ยนแปลงการใช้ไฟฟ้าและบริการอื่น ๆ สามารถตรวจสอบพื้นที่บริการ  ของการไฟฟ้านครหลวงเขต  หรือสาขาย่อย  จากตัวอักษรหน้าหมายเลขเครื่องวัด ฯ ของท่านที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้า

หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข

  • มีเสา-สายไฟแรงต่ำผ่าน ไม่มีการปักเสาพาดสายเพิ่มหรือเปลี่ยนหม้อแปลง 
  • ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าใช้จ่ายพร้อมหลักประกันในวันยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า 
  • สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า ไม่มีหนี้ค่าไฟฟ้าและ/หรือหนี้ค้างชำระอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ไฟฟ้า 
  • การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในสถานที่ใช้ไฟฟ้า ถูกต้อง ตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวง

ทั้งนี้ถ้าเป็นไฟฟ้าที่มีขนาดมากกว่า 50 (150) แอมแปร์ หรือวิธีขอไฟ 3 เขตก็จะแตกต่างกันออกไป แนะนำให้โทรติดต่อสอบถามกับผู้ให้บริการไฟฟ้าแต่ละเขตที่ดูแลที่อยู่อาศัยของคุณ โดยกรุงเทพ สมุทรปราการ และนนทบุรีจะเป็นการดูของการไฟฟ้านครหลวง โทร 1130 และจังหวัดอื่น ๆ จะเป็นการดูแลของไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร 1129 เพื่อสอบถามก่อนจะเข้าไปเข้ารับบริการและเตรียมเอกสาร

สนันสนุนโดย
เซ็กซี่บาคาร่า168 / เว็บแทงบอล / sgสล็อต

หน้าแรก

https://media.thairath.co.th/

http://www.globalservicespr.com/

https://mall.factomart.com/

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
VK

Table of Contents